วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
นวัตกรรม
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com สรุปไว้ว่า นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic evelopment,1934 
โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย 
boonpan edt01.htm คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา 
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรมไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ

(บุญเกื้อ ควรหาเวช, 2543) นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) 
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation คืออะไร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
1. ธรรมชาติ คือ สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ก้อนดิน ผืนน้ำ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
2. วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่อธิบายธรรมชาติ เช่น ทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมฝนถึงตก ทำไมลูกทุเรียนจึงตกดิน
3. เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์ มาทำใช้ในทางปฏิบัติ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี RFID
4. นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น นำนาโนเทคโนโลยี ไปใส่ในเสื้อผ้า ทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ หรือ การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในพลาสติก ทำให้พลาสติกเกิดรูพรุนขนาดเล็กสำหรับใช้กรองเชื้อโรค การนำนาโนเทคโนโลยีใส่ในกระจกทำให้ฝุ่นไม่เกาะกระจก จึงเป็นกระจกที่ไม่ต้องการทำความสะอาด
สรุปได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา
วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm “นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction)การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น 
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรมทางการศึกษา” หมายถึง สิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา อันได้แก่ แนวคิด เทคนิค วิธีการกระบวน การ แนวปฏิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้แล้วจากที่อื่น แต่นำมาใช้ใหม่ที่นี่
2. เป็นสิ่งที่เคยใช้มาแล้วจากที่อื่น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เพิ่งนำมาทดลองใช้
4. เป็นสิ่งที่ผลิต/สร้างขึ้นใหม่และทดลองใช้ที่นี่เป็นครั้งแรก
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดี
บทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอน
แบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตร
วิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาล

การบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
เทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า"วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า นักเทคโนโลยี(Technologist)
คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำ และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับ เทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why)เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐาน ประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology)หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่นการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนัก งาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสาร สนเทศมี บทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวันก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึด อาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้ง ถิ่นฐานเดิมจากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรม และการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงาน ด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง

สื่อการสอน
สื่อการสอน ก็คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น

ประเภทสื่อการสอน
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
บทบาทของสื่อการสอน คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย
สื่อการสอน มี 4 ประเภท คือ สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่อเทคนิคหรือวิธีการและ สื่อคอมพิวเตอร์
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

สื่อประสม
สื่อประสม (Multimedia) หมายรวมถึง การรวมสื่อต่าง ๆ ซึ่งสามารถหรือแสดงในรูปของตัวอักษร เสียง รูปและภาพเคลื่อนไหวเข้าด้วยกันเป็นสื่อเดียว สื่อประสมได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้คือ
1.สื่อประสมแบบบรรจุแพกเกจ เช่น ซีดี-รอม และเกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.สื่อประสมชนิดเครือข่าย เช่น ระบบปฏิบัติงานกลุ่ม (groupware) เคเบิลทีวี หรือ ทางด่วนข้อมูล
3.สื่อประสมแบบมหรสพ เช่น เกมส์สื่อประสมในสวนสนุก เป็นต้น

ในอนาคตจะมีการนำสื่อประสมมาใช้หลายด้าน เช่น ทางด้านการศึกษา โดยเปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ และนำภาพโสตทัศนต่าง ๆ มาสู่ห้องเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลิน และสร้างแรงจูงใจต่อการเรียนได้อย่างมีประสิทธิผล หรือมีการลงคู่มือการใช้และการซ่อมแซม ลงบนอินเตอร์เน็ต หรือซีดี-รอม ส่วนหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาก็คือ โทรทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ซึ่งมีมากกว่า 500 ช่อง ซึ่งควบคุมโดยชิฟของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในโทรศัพท์ ซึ่งจะมีท่อลำเลียงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้ที่แสดงเป็นวิดีทัศน์ ผู้ใช้สามารถกดปุ่มดูการแสดงเฉพาะบางช่วงหรือเน้นเฉพาะจุด และสามารถปฏิสัมพันธ์กับ story line และสามารถตัดสินใจเปลี่ยนแปลงรายการแสดงตอนจบได้
การเลือกสื่อประสม สื่อที่เรานำมาใช้ในชุดสื่อการสอนแบบสื่อประสมมักตะประกอบด้วย เอกสารการสอน แผนภูมิ หุ่นจำลอง ชุดแผ่นโปร่งใส สไลด์และ เทปเสียง ฟิล์มสตริป บทเรียนสำเร็จรูป ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งสื่อประสมแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ ตามพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่ม หรืของแต่ละบุคคล ที่แน่นอนคือสื่อประสมหลายอย่าง ย่อมช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิ์ภาพมากกว่าสื่อประเภทเดียว
สื่อประสม คือ การนำเอาสื่อการสอนหลายอย่างหลายๆชนิดขึ้นไปมาสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ในเวลาเดียวกัน และมีคุณค่าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันของเนื้อหา

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็น ผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจาก คอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
จากแนวคิดดังกล่าว เท็ด เนลสัน และดั๊ก เอนเจลบาร์ต ได้นำแนวคิดนี้มาขยายเป็นรูปเป็น ร่างขึ้น โดยการเขียนบทความหรือเนื้อหาต่าง ๆ กระโดยข้ามไปมาได้ในลักษณะที่ไม่เรียงลำดับเป็น เส้นตรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า ไฮเพอร์เท็กซ์หรือข้อความหลายมิติ โดยการใช้ คอมพิวเตอร์ช่วย แนวคิดเริ่มแรกของสื่อหลายมิติคือความต้องการเครื่องมือช่วยในการคิดหรือการ จำที่ไม่ต้องเรียงลำดับ และสามารถคิดได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ข้อความหลายมิติ Hypertext หรือ ข้อความหลายมิติ คือเทคโนโนยีของการอ่านและการเขียนที่ไม่เรียงลำดับ เนื้อหากัน โดยเสนอในลักษณะของข้อความที่เป็นตัวอักษร หรือภาพกราฟิกอย่างง่าย ที่มีการ เชื่อมโยงถึงกัน เรียกว่า “จุดต่อ” (node) โดยผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่จากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อ หนึ่งได้โดยการเชื่อมโยงจุดต่อเหล่านั้น
ข้อความหลายมิติ เป็นระบบย่อยของสื่อหลายมิติ คือเป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่ จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจตอนใดก็ได้โดยไม่ต้อง เรียงลำดับลักษณะข้อความหลายมิติอาจ เปรียบเทียบได้เสมือนกับบัตรหรือแผ่นฟิล์มใส หลาย ๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้
สื่อหลายมิติ (Hypermedia) มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติไว้ดังนี้
น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสม อื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพ เคลื่อนไหว
วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
กิดานันท์ มะลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

การผลิตสื่อหลายมิติ
การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น Tool Book Author Ware Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการใช้สื่อหลายมิติ
1. ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น(Browsing)สารสนเทศต่าง ๆ
2. ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
3. ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่าง ๆ ที่มีความ น่าสนใจเนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน
มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด เพริด สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภทดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน

สื่อหลายมิติ มีความหมายเหมือนมัลติมิเดีย หรือบางครั้งก็เรียกว่า ไฮเปอร์เทกซ์ ซึ่งก็คือการผสมผสานของข้อความ ภาพ เสียง วีดิโอทัศน์ ในการเสนอเรื่องราวต่างๆเพื่อให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยีและนวตักรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทส แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมิน การปรับปรุงนวัตกรรมและเคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี ส่งเสริมการศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เทคโนโลยี แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมิน การปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีสอนแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)

วิธีสอนแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw)
Pralong Krutnoi ได้สรุปไว้ว่า  วิธีสอนแบบจิ๊กซอร์  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบหนึ่ง  มีวิธีการหลัก ๆ ได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล  เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งใช้หลักการ เรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน คือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระ และวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัลเป็นประการสำคัญ 
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์   มีกระบวนการดังนี้ (ทิศนา แขมมณี, 2545, 2547, 2548, 2550, 2551)
1.  จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (Home Group)
2. สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
3.  สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group) ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
4.  สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด
5.  ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Jigsaw
นักการศึกษาหลายท่านได้เสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค Jigsaw ไว้ดังนี้
สมคิด สร้อยน้ำ(2542 : 132-133) ได้นำเสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Jigsaw ไว้ดังนี้
1.       ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละคน
2.       จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็น กลุ่มบ้าน (Home group)
กลุ่มละ 3-4 คน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น
3.       นักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกันเพื่อทำงานซักถาม และทำกิจกรรมในกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group)
4. นักเรียนแต่ละคนในกลุ่ม Expert group กลับมายังกลุ่มเดิม (Home group) ของตนเอง แล้วผลัดกันอธิบายให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากหัวข้อย่อยที่ 1 2 3 และ 4
5. ทำการทดสอบ (Quiz) หัวข้อย่อยที่ 1-4 แก่นักเรียนทุกคนทั้งห้อง (สอบเดี่ยว) แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม
6. กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดในการสอบครั้งนี้ จะติดประกาศไว้ในป้ายนิเทศของห้องหรือมุมจดหมายข่าวของห้อง

สนอง อินละคร (2544 : 122) ได้นำเสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Jigsaw ไว้ดังนี้
1. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มคละความสามารถ กลุ่มละ 4-6 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยคนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2-4 คน และอ่อน 1 คน แต่ละกลุ่มเลือกประธาน และเลขานุการกลุ่ม เรียกว่า กลุ่มบ้าน (Home group)
2. กลุ่มบ้าน (Home group) แต่ละกลุ่มมอบหมายภาระงานให้สมาชิกรับผิดชอบดังนี้
         คนที่ 1 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 1
คนที่ 2 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 2
         คนที่ 3 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 3
         คนที่ 4 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 4
         คนที่ 5 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 5
         คนที่ 6 รับผิดชอบเนื้อหา หรือใบงานหรือบัตรกิจกรรมที่ 6
3. จัดกลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert group) โดยให้นักเรียนกลุ่มบ้านของแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบเรื่องเดียวกันไปรวมกลุ่มใหม่ แล้วศึกษา ฝึกฝน ทำความเข้าใจเนื้อหา ทำใบงาน หรือทำกิจกรรมร่วมกันจนมีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างดี
4. กลับกลุ่มบ้าน (Home group) โดยนักเรียนแต่ละคนกลับกลุ่มเดิม แล้วผลัดกันอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง เริ่มจากเรื่องที่ 1 2 3 ไปจนครบทุกคน สมาชิกในกลุ่มซักถามจนเป็นที่เข้าใจ
5. แต่ละกลุ่มเตรียมตัวทดสอบรายบุคคล แล้วรวมคะแนน หรือเฉลี่ยคะแนนเป็นคะแนนของกลุ่ม
6. มอบรางวัลหรือประกาศเกียรติคุณแก่กลุ่มที่ได้คะแนน รวมหรือคะแนนเฉลี่ยสูงสุด

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2545 : 176) ได้นำเสนอขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Jigsaw ไว้ดังนี้
1. ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกกลุ่ม
2. จัดกลุ่มผู้เรียนโดยให้มีความสามารถคละกันเรียกว่า กลุ่มบ้าน (Home group) แล้วมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนศึกษาหัวข้อที่ต่างกัน
3. ผู้เรียนที่ได้รับหัวข้อเดียวกันจากแต่ละกลุ่มมานั่งด้วยกันเพื่อทำงานและศึกษาร่วมกันในหัวข้อดังกล่าว เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert group)
4. สมาชิกแต่ละคนออกจากลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปกลุ่มเดิมของตน ผลัดกันอธิบายเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่ตนศึกษาให้เพื่อนฟังจนครบทุกหัวข้อ
5. ครูทดสอบเนื้อหาที่ศึกษาแล้วให้คะแนนรายบุคคล

จากการศึกษาขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค Jigsaw แล้วสรุปขั้นตอนได้ 6 ขั้นตอนดังนี้
1. ผู้สอนจัดเตรียมเนื้อหาสาระหรือเรื่องที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยแบ่งเนื้อหาหรือหัวข้อที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม
2. ผู้สอนจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียนให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกันเป็นกลุ่มบ้าน (Home group) จำนวนสมาชิกในกลุ่มอาจมี 2-6 คนก็ได้
3. ผู้สอนแจกเอกสาร อุปกรณ์หรือสื่อการเรียนรู้ให้กลุ่มละ 1 ชุด หรือให้สมาชิกคนละ 1 ชุดก็ได้ (ทุกกลุ่มจะศึกษาในเรื่องเดียวกัน) มอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนรับผิดชอบศึกษา ค้นคว้าเพียงคนละ 1 ส่วน
4. สมาชิกทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนแยกย้ายจากกลุ่มบ้าน ไปจับกลุ่มใหม่เพื่อทำการศึกษาเอกสารหรือค้นคว้าเพิ่มเติมในส่วนที่ตนเองได้รับมอบหมาย โดยสมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกัน จะไปนั่งรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 3-6 คน หรือตามจำนวนที่ผู้สอนกำหนด อ่าน ศึกษา หรือค้นคว้า สรุปเนื้อหาสาระ จัดลำดับขั้นตอนการนำเสนอ และเตรียมนำไปสอนหรือให้ความรู้แก่สมาชิกในกลุ่มบ้าน
5. ผู้เชี่ยวชาญของแต่ละกลุ่มกลับกลุ่มเดิมของตนแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน อธิบายให้ความรู้สมาชิกในกลุ่มทีละคนจนครบ มีการซักถามข้อสงสัย ตอบปัญหา ทบทวน ให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน
6. ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนทำการทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้ที่ครอบคลุมทุกหัวข้อที่เรียนรู้ แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม มอบรางวัลหรือคำชื่นชมกลุ่มที่มีคะแนนรวมสูงสุด



 ที่มา
ทิศนา แขมมณี .   (2545).   ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.  พิมพ์ครั้งที่  1.   กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภดล ยิ่งยงสกุล. (2553). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคJigsaw. https://sornordon.wordpress.com. เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561.

วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้



วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ

1.      การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)

2.      การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)

3.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)

4.      การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)

5.      การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Method)

6.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)

7.      การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)

8.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)

9.      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)

10.  การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสุ่ม (Group Process)

11.  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

12.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournaments)

13.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions)

14.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค JIGSAW

15.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)

16.  การจัดการเรียนรู้แบบ STORYLINE

17.  การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (Concentrated Language Encounters)

18.  การจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ (Direct Instruction)

19.  การจัดการเรียนรู้แบบ SQ 3R

การเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

20.  การจัดการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (Individualized Instruction)

21.  การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)

22.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโปรแกรม(Programmed Instruction)

23.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูล (Instructional Module)

24.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)

25.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

26.  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Method)

27.  การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา (Field Trip)

28.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

29.  การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา

30.  การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ

31.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ค่านิยมให้กระจ่าง

32.  การจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์

33.  การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ

34.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย

35.  การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรม

36.  การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ

37.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์

38.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน

39.  การจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

40.  การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)

41.  การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)

42.  การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

43.  การจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

44.  การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Experimental Method)

45.  การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method)

46.  การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สาระสนเทศ (Information Problem-Solving Approach)

47.  การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Question Method)

48.  การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learned)

49.  การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case Study Method)

50.  การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (Creative Teaching)

51.  การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstroming Method)

52.  การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (Synectics Method)

53.  การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)

54.  การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

55.  การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Groub Investigation Method)

56.  การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

57.  การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping Techinique)

58.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี (Knowledge Vee Diagramming)

59.  การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี (Wannee Teaching Model)

60.  การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์ (Forecast or Prediction Method)

61.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี / สิ่งพิมพ์

62.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน

63.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนสำเร็จรูป

64.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

65.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

66.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน

67.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท

68.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

69.  การจัดการเรียนรู้โดยการตัดสินใจอย่างฉลาด

70.  การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างแผนผังความคิด

71.  การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

  

เทคนิคการจัดการเรียนรู้

72.  เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)

73.  เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)

74.  เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Share)

75.  เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pair Check)

76.  เทคนิคเล่าเรื่องราว (Roundrobin)

77.  เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable)

78.  เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning Together)

79.  เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)

80.  เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Groop Investigation)

81.  เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament)

82.  เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD : Student Teams Achievement Division)

83.  เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three Step Interview)

84.  เทคนิคช่วยกันคิดช่วยการเรียน (TAI : Team Assited Individualization)

85.  เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่1 (Jigsaw 1)

86.  เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่2 (Jigsaw 2)

87.   เทคนิคการเรียนรู้แบบ CO-OP  CO-OP

 

ที่มา

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 19 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 20 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 21 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร.(2559). เอกสารคำสอน รายวิชา การจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2559. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

 

 

นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นวัตกรรม พันธุ์อาจ ชัยรัตน์  , Xaap.com สรุปไว้ว่า นวัตกรรม  (Innovation)  มีรากศัพท...