ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
(Constructionism)
ลักขณา สริวัฒน์ (2557: 188-192)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ทฤษฎีนี้พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท (Papert. 1980) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts Institute
of Technology : M.I.T.) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้มาใช้ในวงการศึกษาโดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีและทรงประสิทธิภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียน
ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งที่สนใจนั้นด้วยตนเองและอยู่ในบริบทที่แท้จริงของผู้เรียนเอง
จากนั้นผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไปสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา
เป็นการทำให้เห็นความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม
เพราะเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองขึ้นมานั่นเอง
หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) จะเป็นการคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Work Piece Construction) ที่เป็นผลผลิตจากองค์ความรู้ ดังนั้นผู้สอนจึงควรพิจารณาในการใช้สื่อ
เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์การเรียนรู้และผลงานของผู้เรียนเองจนเกิดประจักษ์พยานขององค์ความรู้
ทั้งนี้เพเพิร์ทได้ให้แนวคิดว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ความรู้ได้ดี
เช่นกัน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษไม้ ขวดน้ำพลาสติก หรือของเหลือใช้ต่างๆ
เป็นต้น
เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
1.
แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสร้างสรรค์ชิ้นงาน จำแนกได้ ดังนี้
1)
สามารถสร้างการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี คือ
สามารถสร้างกลไกการเรียนรู้จนผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ (Body of Knowledge) พร้อมทั้งเกิดประจักษ์พยานขององค์ความรู้
2) แนวคิดทฤษฎีนี้มีความคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivism) คือทั้งสองทฤษฎีส่งผลต่อการจัดการศึกษาและเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในวงกว้าง
จึงควรมีการศึกษาเพื่อความเข้าใจในการจัดกาเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวในส่วนที่เป็นพื้นฐานความคิดและการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3) การเรียนรู้อยู่บนกระบวนการสร้าง 2
กระบวนการ ได้แก่
3.1)
ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาด้วยตนเอง
ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้าในสมองของผู้เรียนเท่านั้น
โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ
สังเกตว่าในขณะที่เราสนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งใจ
เราจะไม่ลดละความพยายามและจะคิดหาวิธีการแก้ปัญหานั้นจนสำเร็จ
3.2)
กระบวนการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
2.
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
จำแนกได้ดังนี้
1)
หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมายการเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากผู้เรียนเข้าใจในตนเอง
มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่า
รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
2)
หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง
โดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้
ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
3)
หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และส่งแวดล้อม
หลักการนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน (Social Value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ
การสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลกในสังคมกว้างขึ้น
ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ซึ่งเมื่อเขาออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายขึ้นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ
4) หลักการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
การรู้จักแสวงหาคำตอจากแหล่งความรู้ต่างๆ
ด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่น เมื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร
(Learn How to Learn)
3.
บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานจำแนกอธิบายได้ดังนี้
1) บทบาทของผู้สอน
ครูมีบทบาทสำคัญมากในการที่จะควบคุมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งครูควรจะเข้าใจบทบาทของตนเองและคุณสมบัติที่ควรจะมีรวมถึงเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู
สำหรับบทบาทครูในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1.1) จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม
โดยควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
และคอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
1.2)
แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม
1.3)
สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีทางเลือกที่หลากหลาย
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความสนใจ
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การลงมือทำและเกิดการเรียนรู้
1.4)
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยเน้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้วยการจุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างทั่วถึงตลอดจนรับฟังและสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ผู้เรียนจนสร้างสรรค์ผลงานของตนออกมาได้สำเร็จ
1.5)
ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมและนำทางให้ผู้เรียนได้รู้วิธีวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2) บทบาทของผู้เรียน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ผู้เรียนมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆ
กันด้วยตัวของเขาเอง สำหรับบทบาทที่ผู้เรียนควรจะแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่ง
ได้แก่
2.1)
มีความยินดีร่วมกิจกรรมการเรียนทุกครั้งด้วยความสมัครใจและเต็มใจ
แสดงให้เห็นได้จากการร่วมมือและมีส่วนร่วมทุกครั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ
2.2 สามารถเรียนรู้ได้ตนเอง
รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
2.3) ตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยเหตุและผลด้วยความมั่นใจ
2.4) มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
2.5) สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
2.6) มีความกระตือรือร้นและมีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ เสมอ
4.
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียนหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและพัฒนาความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำหึความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งมดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกจึงเป็นการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง
โดยจะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทนทำให้ผู้เรียนไม่ลืมง่ายสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดีเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
1) ทฤษฎี “ Constructionism ” และ “ Constructivism
” มีฐานทฤษฎีเดียวกันมีแนวคิดหลักเหมือนกันต่างกันที่รูปแบบการปฏิบัติซึ่ง
“ Constructionism ” จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ
ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่างๆ
ด้วยตนเองสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างความรู้ได้ดี
2)
สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ซึ่งควรมีส่วนประกอบ
3 ประการ ดังนี้
2.1)
เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิดค้นหาวิธีการทำและการเรียนรู้
2.2)
เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้เช่นมีกลุ่มคนที่มีวัยความถนัดความสามารถและประสบการณ์แตกต่างกันซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกันการสร้างสรรค์ผลงานและความรู้รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
2.3)
เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตรเป็นกันเองบรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยสบายใจจะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข
3)
พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้มีมากกว่าการระทำหรือกิจกรรม
นั่นคือรวมไปถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์
และสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเก็บเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างของความรู้ภายในสมองของตัวเอง
ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ภายในที่เด็กมีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้
ซึ่งจะเกิดเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ คือเด็กจะเรียนรู้เองจากประสบการณ์
สิ่งแวดล้อมภายนอก
แล้วนำข้อมูลเหล่านี้กลับเข้าไปในสมองผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดบ้อมภายนอก
4)
โอกาสที่เหมาะสมและวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนการสอนที่เด็กสามารถนำไปสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กได้
หมายถึงครูจึงต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ที่เด็กกำลังเรียนรู้ว่าอยู่ในช่วงเวลาใดที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และจะใช้วัสดุอุปกรณ์ใดที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
5) ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น
คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ๆ
หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วย
วิธีการเรียนแบบใหม่คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างของความรู้ขึ้นเองอย่างมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486 ).
ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้
คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
สยุมพร ศรีมุงคุณ ( https://www.gotoknow.org/posts/341272 ).
ได้กล่าวว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)
เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ทฤษฎี Constructionism มีสาระสำคัญที่ว่าความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว
แต่ความรู้เกิดขึ้นและถูกสร้างโดยผู้เรียนเอง
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning
by Doing)
บ่งบอกว่าการจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่าเรามีความเชื่อว่าความรู้
เกิดขึ้นได้อย่างไรถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้าง
ความรู้ขึ้นเองการให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการดึงเอาความรู้นี้ออกมา
จากเด็กด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ
หรือตอบคำถามที่จะใช้ความรู้นั้นและให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะทำ
ให้เกิดกระบวนการ สร้างความรู้ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก
การให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็กแสดงให้
เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่างๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้องให้กับเด็ก
วิธีนี้คือการศึกษาในสมัยก่อนนั่นเองซีมัวร์ พาเพิร์ท (Papert) ได้กล่าวว่าการศึกษาที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีให้ครูสอนเด็กแต่
มาจากการให้โอกาสที่ดีที่เด็กจะได้สร้างความรู้การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้น
ได้ถ้าหากเด็กได้มีส่วนในการสร้างสิ่งที่มีความหมาย ยกตัวอย่างเช่นโครงงานต่างๆ
ของนักเรียนที่คิดค้นขึ้นเองจากการรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานภาษาไทย โครงงานประดิษฐ์สิ่งที่เหลือใช้ เป็นต้น
ที่มา
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ :กรุงเทพฯ. เข้าถึงวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. [ออนไลน์]. https://www.l3nr.org/posts/386486.
เข้าถึงวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. [ออนไลน์]. https://www.gotoknow.org/posts/341272.
เข้าถึงวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น