วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้



วิธีการจัดการเรียนรู้และเทคนิคจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ

1.      การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)

2.      การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)

3.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)

4.      การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)

5.      การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Method)

6.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)

7.      การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation)

8.      การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)

9.      การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)

10.  การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสุ่ม (Group Process)

11.  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

12.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT (Team Games Tournaments)

13.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD (Student Teams Achievement Divisions)

14.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค JIGSAW

15.  การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)

16.  การจัดการเรียนรู้แบบ STORYLINE

17.  การจัดการเรียนรู้แบบมุ่งประสบการณ์ภาษา (Concentrated Language Encounters)

18.  การจัดการเรียนรู้แบบชี้แนะ (Direct Instruction)

19.  การจัดการเรียนรู้แบบ SQ 3R

การเรียนรู้โดยแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

20.  การจัดการเรียนรู้แบบเอกัตภาพ (Individualized Instruction)

21.  การจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)

22.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโปรแกรม(Programmed Instruction)

23.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนโมดูล (Instructional Module)

24.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)

25.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

26.  การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project Method)

27.  การจัดการเรียนรู้โดยการไปทัศนศึกษา (Field Trip)

28.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม

29.  การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา

30.  การจัดการเรียนรู้โดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ

31.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ค่านิยมให้กระจ่าง

32.  การจัดการเรียนรู้แบบเบญจขันธ์

33.  การจัดการเรียนรู้ตามขั้นทั้งสี่ของอริยสัจ

34.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย

35.  การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาจริยธรรม

36.  การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ

37.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์

38.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทาน

39.  การจัดการเรียนรู้แบบซักค้าน

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

40.  การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)

41.  การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)

42.  การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)

43.  การจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)

44.  การจัดการเรียนรู้แบบทดลอง (Experimental Method)

45.  การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา (Problem Solving Method)

46.  การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาโดยใช้สาระสนเทศ (Information Problem-Solving Approach)

47.  การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Question Method)

48.  การจัดการเรียนรู้แบบ KWL (Know-Want-Learned)

49.  การจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Case Study Method)

50.  การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ (Creative Teaching)

51.  การจัดการเรียนรู้แบบระดมสมอง (Brainstroming Method)

52.  การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ (Synectics Method)

53.  การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ความรู้ (Constructivism)

54.  การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

55.  การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Groub Investigation Method)

56.  การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

57.  การจัดการเรียนรู้แบบจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping Techinique)

58.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังความรู้แบบวี (Knowledge Vee Diagramming)

59.  การจัดการเรียนรู้แบบวรรณี (Wannee Teaching Model)

60.  การจัดการเรียนรู้แบบการพยากรณ์ (Forecast or Prediction Method)

61.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี / สิ่งพิมพ์

62.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งวิทยากรในชุมชน

63.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนสำเร็จรูป

64.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

65.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

66.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน

67.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท

68.  การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

69.  การจัดการเรียนรู้โดยการตัดสินใจอย่างฉลาด

70.  การจัดการเรียนรู้โดยการสร้างแผนผังความคิด

71.  การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

  

เทคนิคการจัดการเรียนรู้

72.  เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)

73.  เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)

74.  เทคนิคคู่คิดสี่สหาย (Think-Pair-Share)

75.  เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pair Check)

76.  เทคนิคเล่าเรื่องราว (Roundrobin)

77.  เทคนิคโต๊ะกลม (Roundtable)

78.  เทคนิคการเรียนร่วมกัน (Learning Together)

79.  เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)

80.  เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Groop Investigation)

81.  เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament)

82.  เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD : Student Teams Achievement Division)

83.  เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three Step Interview)

84.  เทคนิคช่วยกันคิดช่วยการเรียน (TAI : Team Assited Individualization)

85.  เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่1 (Jigsaw 1)

86.  เทคนิคการเรียนรู้แบบวิธีการติดต่อภาพ รูปแบบที่2 (Jigsaw 2)

87.   เทคนิคการเรียนรู้แบบ CO-OP  CO-OP

 

ที่มา

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 19 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 20 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

สุวิทย์ มูลคำ, อรทัย มูลคำ.(2545).วิธีการจัดการเรียนรู้. 21 วิธีการจัดการเรียนรู้:เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การพิมพ์. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

ประกาศิต อานุภาพแสนยากร.(2559). เอกสารคำสอน รายวิชา การจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2559. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 เดือนกรกฎาคม 2560.

 

 

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


ลักขณา  สริวัฒน์ (2557: 188-192)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ทฤษฎีนี้พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท (Papert. 1980) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology : M.I.T.) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้มาใช้ในวงการศึกษาโดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีและทรงประสิทธิภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งที่สนใจนั้นด้วยตนเองและอยู่ในบริบทที่แท้จริงของผู้เรียนเอง จากนั้นผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไปสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา เป็นการทำให้เห็นความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม เพราะเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองขึ้นมานั่นเอง หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) จะเป็นการคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Work Piece Construction) ที่เป็นผลผลิตจากองค์ความรู้ ดังนั้นผู้สอนจึงควรพิจารณาในการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์การเรียนรู้และผลงานของผู้เรียนเองจนเกิดประจักษ์พยานขององค์ความรู้ ทั้งนี้เพเพิร์ทได้ให้แนวคิดว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ความรู้ได้ดี เช่นกัน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษไม้ ขวดน้ำพลาสติก หรือของเหลือใช้ต่างๆ เป็นต้น เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
            1. แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสร้างสรรค์ชิ้นงาน จำแนกได้ ดังนี้
1) สามารถสร้างการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี คือ สามารถสร้างกลไกการเรียนรู้จนผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ (Body of Knowledge) พร้อมทั้งเกิดประจักษ์พยานขององค์ความรู้
2) แนวคิดทฤษฎีนี้มีความคล้ายคลึงกับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) คือทั้งสองทฤษฎีส่งผลต่อการจัดการศึกษาและเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในวงกว้าง จึงควรมีการศึกษาเพื่อความเข้าใจในการจัดกาเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวในส่วนที่เป็นพื้นฐานความคิดและการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3) การเรียนรู้อยู่บนกระบวนการสร้าง 2 กระบวนการ ได้แก่
3.1) ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้าในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ สังเกตว่าในขณะที่เราสนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งใจ เราจะไม่ลดละความพยายามและจะคิดหาวิธีการแก้ปัญหานั้นจนสำเร็จ
3.2) กระบวนการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
2. หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน จำแนกได้ดังนี้
1) หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมายการเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่า รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
2) หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง โดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
3) หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และส่งแวดล้อม หลักการนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน (Social Value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลกในสังคมกว้างขึ้น ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ซึ่งเมื่อเขาออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายขึ้นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ
4) หลักการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ การรู้จักแสวงหาคำตอจากแหล่งความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่น เมื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn How to Learn)
3. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียนตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานจำแนกอธิบายได้ดังนี้
1) บทบาทของผู้สอน ครูมีบทบาทสำคัญมากในการที่จะควบคุมกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งครูควรจะเข้าใจบทบาทของตนเองและคุณสมบัติที่ควรจะมีรวมถึงเจตคติที่ดีต่ออาชีพครู สำหรับบทบาทครูในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1.1) จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม โดยควบคุมกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ และคอยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
1.2) แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม
1.3) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีทางเลือกที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกได้ตามความสนใจ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิด การลงมือทำและเกิดการเรียนรู้
1.4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองด้วยการจุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนอย่างทั่วถึงตลอดจนรับฟังและสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ผู้เรียนจนสร้างสรรค์ผลงานของตนออกมาได้สำเร็จ
1.5) ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้ตลอดจนส่งเสริมและนำทางให้ผู้เรียนได้รู้วิธีวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2) บทบาทของผู้เรียน การเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ผู้เรียนมีบทบาทในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆ กันด้วยตัวของเขาเอง สำหรับบทบาทที่ผู้เรียนควรจะแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่ง ได้แก่
2.1) มีความยินดีร่วมกิจกรรมการเรียนทุกครั้งด้วยความสมัครใจและเต็มใจ แสดงให้เห็นได้จากการร่วมมือและมีส่วนร่วมทุกครั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ
2.2 สามารถเรียนรู้ได้ตนเอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
                                      2.3) ตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยเหตุและผลด้วยความมั่นใจ
                                      2.4) มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
                                      2.5) สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
                                      2.6) มีความกระตือรือร้นและมีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ เสมอ
 4. การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียนหากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและพัฒนาความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำหึความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งมดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกจึงเป็นการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง โดยจะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทนทำให้ผู้เรียนไม่ลืมง่ายสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดีเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
1) ทฤษฎี “ Constructionism ” และ “ Constructivism ” มีฐานทฤษฎีเดียวกันมีแนวคิดหลักเหมือนกันต่างกันที่รูปแบบการปฏิบัติซึ่ง “ Constructionism ” จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่างๆ ด้วยตนเองสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างความรู้ได้ดี
2) สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากอีกประการหนึ่งก็คือบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ซึ่งควรมีส่วนประกอบ 3 ประการ ดังนี้
2.1) เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลายเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการคิดค้นหาวิธีการทำและการเรียนรู้
2.2) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้เช่นมีกลุ่มคนที่มีวัยความถนัดความสามารถและประสบการณ์แตกต่างกันซึ่งจะเอื้อให้มีการช่วยเหลือกันและกันการสร้างสรรค์ผลงานและความรู้รวมทั้งการพัฒนาทักษะทางสังคมด้วย
2.3) เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตรเป็นกันเองบรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยสบายใจจะเอื้อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความสุข
3) พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้มีมากกว่าการระทำหรือกิจกรรม นั่นคือรวมไปถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวเด็กเอง ประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถเก็บข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและเก็บเข้าไปสร้างเป็นโครงสร้างของความรู้ภายในสมองของตัวเอง ขณะเดียวกันก็สามารถเอาความรู้ภายในที่เด็กมีอยู่แล้วแสดงออกมาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ ซึ่งจะเกิดเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ คือเด็กจะเรียนรู้เองจากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก แล้วนำข้อมูลเหล่านี้กลับเข้าไปในสมองผสมผสานกับความรู้ภายในที่มีอยู่แล้วแสดงความรู้ออกมาสู่สิ่งแวดบ้อมภายนอก
4) โอกาสที่เหมาะสมและวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนการสอนที่เด็กสามารถนำไปสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กได้ หมายถึงครูจึงต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ที่เด็กกำลังเรียนรู้ว่าอยู่ในช่วงเวลาใดที่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และจะใช้วัสดุอุปกรณ์ใดที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้นั้นให้เป็นไปได้ดีขึ้นตามธรรมชาติของเด็กแต่ละคน
5) ครูควรคิดค้นพัฒนาสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น คิดค้นว่าจะให้โอกาสแก่ผู้เรียนอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ขึ้นเองได้ถ้าเราให้ความสนใจเช่นนี้ก็จะหาทางพัฒนาและสร้างวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนใหม่ๆ หรือหาวิธีที่จะใช้อุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ด้วย วิธีการเรียนแบบใหม่คือการสร้างให้ผู้เรียนสร้างโครงสร้างของความรู้ขึ้นเองอย่างมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น


             ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486  ). ได้กล่าวไว้ว่า  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   


สยุมพร ศรีมุงคุณ ( https://www.gotoknow.org/posts/341272  ). ได้กล่าวว่า  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน


สรุป
                   ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎี Constructionism มีสาระสำคัญที่ว่าความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว แต่ความรู้เกิดขึ้นและถูกสร้างโดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by Doing) บ่งบอกว่าการจะให้การศึกษากับเด็กขึ้นอยู่กับว่าเรามีความเชื่อว่าความรู้ เกิดขึ้นได้อย่างไรถ้าหากเราเชื่อว่าความรู้เกิดจากการที่เด็กพยายามจะสร้าง ความรู้ขึ้นเองการให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการดึงเอาความรู้นี้ออกมา จากเด็กด้วยการขอให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ หรือตอบคำถามที่จะใช้ความรู้นั้นและให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่จะทำ ให้เกิดกระบวนการ สร้างความรู้ในทางตรงข้ามถ้าเราเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นจากประสบการณ์ภายนอก การให้การศึกษาก็จะต้องประกอบด้วยการให้ประสบการณ์ที่ถูกต้องกับเด็กแสดงให้ เด็กเห็นถึงวิธีที่ถูกต้องที่จะทำกิจกรรมต่างๆ หรือบอกคำตอบที่ถูกต้องให้กับเด็ก วิธีนี้คือการศึกษาในสมัยก่อนนั่นเองซีมัวร์ พาเพิร์ท (Papert) ได้กล่าวว่าการศึกษาที่ดีไม่ได้มาจากการหาวิธีการสอนที่ดีให้ครูสอนเด็กแต่ มาจากการให้โอกาสที่ดีที่เด็กจะได้สร้างความรู้การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้น ได้ถ้าหากเด็กได้มีส่วนในการสร้างสิ่งที่มีความหมาย ยกตัวอย่างเช่นโครงงานต่างๆ ของนักเรียนที่คิดค้นขึ้นเองจากการรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานภาษาไทย โครงงานประดิษฐ์สิ่งที่เหลือใช้ เป็นต้น


ที่มา
              ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ :กรุงเทพฯเข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
  ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. [ออนไลน์].   https://www.l3nr.org/posts/386486.
                                เข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
              สยุมพร ศรีมุงคุณ. [ออนไลน์].  https://www.gotoknow.org/posts/341272.
                                เข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.



                                                                                        


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)


ลักขณา สริวัฒน์  (2557 : 185-188) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 
 ( Constructivism) ไว้ดังนี้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism) แนวคิ  ดการสร้างความรู้ด้วยตนเองมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ ซึ่งมีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยาเริ่มต้นด้วยเพียเจต์ (Piaget) ที่เสนอไว้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นเอกนัย และวีกอทสกี (Vygotsky. 1978) ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่าเกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น ซึ่งผลงานเขาเป็นที่ยอมรับกันในประเทศรัสเซียและเริ่มเผยแพร่สู่ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่างๆในยุโรป สำหรับทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของออซูเบล (Ausubel) และเพียเจต์ (Piaget) ผู้เขียนได้รวบรวมองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. หลักการสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย
1) ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิมโดยใช้กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Apparatus) ของตน
2) การเรียนรู้ตามแนว (Constructivism) โดยโครงสร้างทางปัญญาเป็นผลของความพยายามทางความคิด ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเองผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้ แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
3) การที่ผู้เรียนไม่ได้รับเอาข้อมูลและเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมายของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดยประสบการณ์ของตนและเสริมขยายและทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย
   4) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละบุคคลได้สร้างความรู้ขึ้นและทำให้สำเร็จโดยผ่านกระบวนการของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุลเป็นการปรับตัวของตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อยู่ในสภาพสมดุลที่ประกอบด้วยกระบวนการ 2 ประการคือ
4.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซับหรือดูดซึมเอาประสบการณ์ใหม่เข้าสู่ประสบการณ์เดิมที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจากการเรียนรู้เดิมที่มีอยู่
4.2) การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซับหรือดูดซึมคือ เมื่อได้ซึมซับเอาประสบการณ์ใหม่เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้วจะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากับโครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว แต่ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็จะทำการสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ใหม่นั้น
2. ลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองประกอบด้วย
1) ขั้นแรกเริ่มจากประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนมีความสนใจ ซึ่งประเด็นปัญหานั้นต้องเป็นสิ่งที่เด็กให้ความสำคัญหรือสนใจ เพราะเป็นการสร้างแรงจูงใจเบื้อต้นในการเรียนรู้หรือครูทำให้เด็กเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิต เรียกขั้นนี้ว่า Assimilation
2) ขั้นทบทวนความรู้เดิม เป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลต้องการจะเรียนรู้ในสิ่งใดต้องคิดทบทวนว่าเรามีความรู้ในสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใดเพื่อจะวางกลไกหรือสร้างยุทธศาสตร์การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเกิดการถ่ายโอน (Transfer) ในสถานการณ์นี้อาจทำให้เกิดภาวะไม่สมดุล (Disequilibrium) ซึ่งจะทำให้บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในสภาพสมดุล (Equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
3) ขั้นแสวงหาหนทางหรือทางเลือกด้วยกระบวนการรู้คิด (Cognition) ซึ่งในสถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่ผู้เรียนใช้ข้อมูลพื้นฐานของตัวเองนำมาไตร่ตรองอย่างเป็นระบบดำเนินการตรวจสอบ ประเมินเพื่อคลี่คลายไปสู่ความกระจ่างแจ้งในประเด็นปัญหา (Accommodation)
จากลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองนี้สามารถนำมาใช้ในการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของวีกอทสกี (Vygotsky) โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ พ่อ แม่ และเพื่อนในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Context) จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เข้มข้นอย่างสมจริงจากประสบการณ์ที่หลากหลายจนเกิดองค์ความรู้ สำหรับลำดับขั้นของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism ทั้งสามขั้นจะนำไปสู่การเกิดโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) และก่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ลึกซึ่งและตรึงแน่นอยู่ในความทรงจำตลอดไป
3. การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ดำเนินการได้ ดังนี้
1) กฎเกณฑ์ของผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา หรือConstructivism นั้น ผู้ที่จะจัดการเรียนการสอนควรออกแบบการเรียนการสอนเพื่อที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาที่มีความหมายจริงๆ และเป็นปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนต่างก็มีความต้องการและมีประสบการณ์ซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงและต้องการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้น ผู้จัดการเรียนการสอนควรจัดเตรียมหากลุ่มหรือชุดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิกิริยาต่อกันและได้คิดแก้ปัญหาต่างๆ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรช่วยเหลือโดยการแนะแนวทางและสั่งสอนหรือฝึก (Coaching) สำหรับวิธีการจัดการเรียนการสอนเมื่อใช้แนวคิดของ Constructivism จะจัดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนดังนี้
                        1.1) กรณีศึกษา (Case Studies) หรือการแก้ปัญหาเพื่อการเรียนรู้
            1.2) การนำเสนอผลงานหรือชิ้นงานให้ปรากฏแก่สายตาหลายด้านหลายมิติหรือการจัดทำสื่อแนะแนวทางให้เสนอแนะแนวทางให้เสนอแนะ (Presenting Work Production)
                        1.3) การกำกับดูแลหรือการฝึกงาน (Coaching)
                        1.4) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative  Learning)
                        1.5) การเรียนรู้โดยการสืบค้น (Discovery Learning)
                        1.6) การเรียนรู้โดยการกำหนดสถานการณ์ (Situational Learning)
 2) การใช้ Constructivism ภายใต้เงื่อนไขที่มีส่วนสนับสนุนทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
2.1) การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นในกระบวนการที่ได้มีการปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้เรียนต่อผู้เรียน
2.2) ผู้เรียนจะรวบรวมจัดองค์ความรู้ปัจจุบันที่มีอยู่แล้วจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับความเข้าใจในสถานการณ์ใหม่ๆ และสถานการณ์ที่ต่างกันตามที่ได้มา
2.3) แหล่งการเรียนรู้หรือทรัพยากรที่หลากหลายมีลักษณะที่แตกต่างกันในจำนวนมากเท่าที่สามารถจัดหามาได้เพื่อช่วยเหลือในการสืบค้น
2.4) มีเวลาเพียงพอที่จะสามารถทำผลงานชิ้นงาน หรือทำการปฏิบัติการใดๆ สำหรับผู้เรียนในการสืบค้นและประเมินผลองค์ความรู้
            3) ทักษะต่างๆใดๆก็ตามที่ควรได้รับการเรียนรู้ด้วย Constructivism เช่น การประดิษฐ์คิดค้นผลงานด้วยความรวดเร็วจากการใช้กระบวนการของคอมพิวเตอร์ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำที่กว้างและมีน้ำไหลผ่าน การวิจัยหาวิธีบำบัดรักษาตัวเองจากโรคต่างๆได้ เป็นต้น
                อย่างไรก็ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองแม้เป็นทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนจะไม่เน้นการให้เนื้อหาที่ผู้เรียนจะต้องเรียน แต่เน้นที่ตัวผู้เรียนและประสบการณ์ของผู้เรียนซึ่งหมายความว่า การที่ผู้เรียนไม่รับเอาหรือเก็บเอาไว้แต่เฉพาะข้อมูลที่ได้รับแต่ต้องแปลความของข้อมูลเหล่านั้นด้วยประสบการณ์และมีแรงเสริมขยายตลอดจนการทดสอบการแปลความนั้นอย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นทฤษฎี Constructivism นั้นจึงมีจุดด้อยคือ ผู้เรียนที่มีความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีนัยสำคัญต่อผลการเรียนรู้ของการเรียนการสอน มิใช่ว่าจะมาทำนายว่าพวกเขามีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด เพราะว่าผู้เรียนทั้งหลายต่างกำลังสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)นั่นคือผลของการทำงานหรือการสร้างผลงานต่างๆ ล้วนต้องการผลงานเหมือนกันทุกครั้ง เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปในการเรียน โครงงานจากสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น ซึ่งดูที่ผลผลิตแล้วจะไม่ตรงกับแนวคิดของ Constructivism


ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486  ). ได้กล่าวไว้ว่า  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  


สยุมพร ศรีมุงคุณ ( https://www.gotoknow.org/posts/341272  ). ได้กล่าวว่า  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  
             เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  
             บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย


สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็น ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ เข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้ ดังนั้นเป้าหมายของการสอน จะสนับสนุนกระบวนการสร้างมากกว่าการรับรู้ ดังนั้นเป้าหมายของการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอด ความรู้ จึงได้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นจริง  จากความเชื่อดังกล่าว จึงส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Constructivism เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่า เป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน


ที่มา
ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ : กรุงเทพฯ.เข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
                ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. [ออนไลน์].   https://www.l3nr.org/posts/386486.
                                เข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.
                สยุมพร ศรีมุงคุณ. [ออนไลน์].  https://www.gotoknow.org/posts/341272.
                                เข้าถึงวันที่ 2เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560.


นวัตกรรมและสื่อการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นวัตกรรม พันธุ์อาจ ชัยรัตน์  , Xaap.com สรุปไว้ว่า นวัตกรรม  (Innovation)  มีรากศัพท...